9.13.2552

โครงสร้างองค์การบริษัทข้ามชาติ

การจัดโครงสร้างองค์การของบริษัทข้ามชาติ
* การแบ่งเป็นแผยกส่งออก (export department)
* ฝ่ายต่างประเทศ (international division)
* พิจารณาจากผลิตภัณฑ์ (product structure)
* พิจารณาจากพื้นที่ (area structure)
* พิจารณาจากหน้าที่ (functional structure)
* แบบผสม (mix structure)
* แบบแมทริกซ์ ( matrix structure)

การแบ่งเป็นแผนกส่งออก .... เป็นวิธีที่กิจการเพิ่งจะเริ่มส่งสินค้าหรือบริการไปจำหน่าย ต่างประเทศนิยมใช้ เมื่อยอดจำหน่ายสินค้าในต่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่กิจการยังไม่มีศักยภาพพอที่จะตั้งสาขาในต่างประเทศ การตั้งแผนกส่งออกเป็นทางเลือกที่เหมาะสม และพัฒนาไปถึงขั้นมีตัวแทนในต่างประเทศ รับหน้าที่ด้านการจำหน่ายในต่างประเทศ กิจการยังอาจใช้บริษัทในเครือ (subsidiary) เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าในต่างประเทศ

การจัดตั้งฝ่ายต่างประเทศ .... การจัดตั้งฝ่ายต่างประเทศขึ้นที่สำนักงานใหญ่ เพื่อรวมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศไว้ในฝ่าย เท่ากับเป็นการยกฐานะและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในต่างประเทศขึ้นมาเทียบเท่าการดำเนินงานภายในประเทศ และเพื่อเตรียมขยายงานในต่างประเทศในอนาคต การแบ่งงานในลักษณะนี้อาจก่อให้เกิดการแข่งขันกันเองระหว่างฝ่ายในประเทศ (domestic division) และฝ่ายต่างประเทศ (international division)

การจัดโครงสร้างโดยยึดหลักผลิตภัณฑ์แบบสากล .... ธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับตัวสินค้าและมุ่งที่สร้างความเป็นสากลให้กับสินค้าของตน (global product) จะมีนโยบายวางรูปแบบของสินค้าให้มีลักษณะเหมือนกันทั่วโลกนั้น จำเป็นต้องมีกลไกในทางปฏิบัติที่สอดคล้องกัน เพื่อให้นโยบายประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ การจัดโครงสร้างองค์การโดยพิจารณาจากผลิตภัณฑ์ของธุรกิจระหว่างประเทศนั้น กิจการมักมีผลิตภัณฑ์หลายชนิด แต่ละชนิดมียอดจำหน่ายสูงในตลาดโลก ทำให้ผู้บริหารสามารถแบ่งความรับผิดชอบเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ออกเป็นส่วนงานเฉพาะ

IB Edutainment 2009

ถึงวันจริงแล้วเหรอสำหรับงาน IB Edutainment 2009
งานวุ่นมาก ๆ คนเข้างานก็เยอะ มีปัญหาเรื่องบูธให้แก้ตลอดเวลา
ตอบปัญหาอาจารย์ก็ไม่ดี เหนื่อยค่ะ แอบท้อจริง ๆ สำหรับงานนี้

การแสดงของกลุ่มก็ติงต๊องจริง ตอนอาจารย์คอมเม้นนี่หน้าเหวอเลยอ่ะ
อากาศก็ร้อนมาก ๆ การทำงานใหญ่แบบนี้มันเหนื่อย จริง ๆ เล้ย

แต่รวม ๆ แล้วก็สนุกดีค่ะ ทำให้ได้ร่วมงานกับเพื่อน ๆ ในหลาย ๆ รูปแบบดี

ไป..มาม่า..จ้า

วันนี้ต้องตื่นเช้า...........ง่วงนอนมากค่ะ
ไปขึ้นรถตอน 6.30 น. เกือบไม่ทันน่ะ
เพื่อน ๆ เค้าขึ้นรถกันหมดแระเหลือเรากับเพื่อนเป็นกลุ่มสุดท้าย
(พอขึ้นรถมาเจอสายตาเพื่อน ๆ รู้สึกกดดันมาก ๆ ค่ะ 55)

พอเดินทางไปถึงโรงงานผลิต ร้อนมากกกกกกกกกกกกค่ะ สุด ๆ เลย
แต่ดีตรงที่พอไปถึงก็เข้าไปฟังวิทยากรบรรยายในห้องประชุม (อันนี้ก็เย้นนนนนเย็น 55)
ต่อด้วยการเข้าไปดูสายการผลิตในโรงงานผลิตมาม่าจริง สะอาดน่ากินมาก ๆ
แบบว่า การผลิตเส้นนี่น่าทึ่งมาก ๆ ค่ะ มันหลายขั้นตอนจริง ๆ

ต่อด้วยการไปทานข้าวร่วมกันกับเพื่อน ๆ อร่อยค่ะ บรรยากาศดี
เพื่อน ๆ น่ารัก อยากไปด้วยกันอีกค่ะ แล้วก็ได้ไปวัดกันต่อ
สนุก อร่อย ได้บุญด้วยค่ะ ^^

ไปวัดเสร็จแล้วก็เดินทางกลับมหาวิทยาลัยของเรา......เหนื่อย ๆ


อยากให้มีกิจกรรมแบบนี้อีกค่ะ..จะไปทุกงานเลย ^^

8.09.2552

การวางแผนกลยุทธ์

การวางแผนกลุยทธ์ (Strategic Planning) คือ การกำหนดแผนที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจ โดยเป็นการกำหนดทั้งนโยบายและวิธีปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับระดับขององค์กร เพราะขนาดขององค์การธุรกิจในปัจจุบันมีขนาดใหญ่ บางกิจการมีบริษัทในเครือหลายสิบบริษัท แต่ละบริษัทมีการดำเนินธุรกิจต่างชนิดกัน การวางแผนกลยุทธ์จึงไม่สามารถใช้แผนเดียวกันในธุรกิจที่ต่างชนิดกันได้ ระดับของกลยุทธ์แบ่งออกเป็นสามระดับ ได้แก่
1. กลยุทธ์ระดับบริษัท (corporate level) คือ กลยุทธ์ของบริษัทแม่ซึ่งครอบคลุมธุรกิจต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือ
2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (business level) หรือ (Strategic Business Units หรือ SBU) คือ กลยุทธ์เพื่อใช้ในการดำเนินงานของธุรกิจแต่ะชนิด
3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (functional level) คือ กลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่แต่ละหน้าที่ของธุรกิจ

การวิเคราะห์กลยุทธ์ในระดับนานาชาติ (International Strategic Analysis) ประกอบไปด้วย
1. การวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอก (External Environment Analysis) วิเคราะห์ด้วยวิธี PEST Analysis Model เพื่อแสวงหาโอกาสและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในประเทศเป้าหมาย และอีกหนึ่งวิธีคือการวิเคราะห์ปัจจัยห้าประการที่มีผลต่อการดำเนินงาน ( Five Forces) โดย ไมเคิล พอร์เตอร์
2. การวิเคราะห์สถานการณ์ภายใน (Internal Environment Analysis) หรือ การวิเคราะห์ห่วงโซ่ความสัมพันธ์ (Value Chain Analysis) การวิเคราะห์ปัจจัยโดยพิจารณาถึงการเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ได้แบ่งปัจจัยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานหลัก (Primary Activities) หมายถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโดยตรง และ ปัจจัยสนับสนุน (Supporting Activities) หมายถึงปัจจัยที่จะมีผลต่อการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

การกำหนดกลยุทธ์ระดับธุรกิจ................

7.17.2552

ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ

ทฤษฎีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ (The Absolute Advantage Theory) โดยมีเกณฑ์ภายใต้ข้อตกลงดังนี้
1. โลกมีอยู่ 2 ประเทศ
2. สินค้าบนโลกมี 2 ชนิด
3. มีปัจจัยเท่ากันในการผลิต
เป็นทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศยุคแรกๆ โดย Adam Smith ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อดัง The Wealth of Nations (1976) เป็นการสนับสนุนการค้าเสรีว่าเป็นนโยบายที่ดีเยี่ยมสำหรับทุกประเทศในโลก เมื่อการค้าเป็นไปอย่างเสรี แต่ละประเทศก็จะทำการผลิตด้วยความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษเฉพาะสินค้าที่ประเทศมีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ ( ถ้าประเทศนั้นสามารถผลิตสินค้าชนิดหนึ่งได้มากกว่าอีกประเทศหนึ่งด้วยปัจจัยการผลิตจำนวนที่เท่ากัน) และนำเข้าสินค้าที่มีความเสียเปรียบโดยสมบูรณ์ ดังนั้น การค้าระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้นจากการที่ต่างฝ่ายได้เปรียบโดยเด็ดขาดจากการผลิตสินค้าคนละชนิดแล้วมาแลกเปลี่ยนกัน

ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)
David Ricardo กล่าวว่าประเทศที่ไม่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในการผลิตสินค้าทุกๆอย่างกับประเทศอื่น ยังคงสามารถทำการค้าที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายได้ ประเทศที่ด้อยประสิทธิภาพควรผลิตและส่งออกเฉพาะสินค้าที่ประเทศตนมีความเสียเปรียบโดยสมบูรณ์น้อยกว่า ถือได้ว่าสินค้านี้เป็นสินค้าที่ประเทศผลิตด้วยความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และใช้อธิบายสาเหตุของธุรกิจการค้าระหว่างประเทศจนทุกวันนี้

ทฤษฎีเฮกเชอร์-ออแลง (Heckscher-Ohlin Theory)
ทฤษฎี Heckscher-Ohlin (H-O) เน้นในเรื่องความแตกต่างกันของปัจจัยการผลิตเริ่มต้น (Factor Endownments) ที่แต่ละประเทศมีอยู่ และราคาปัจจัยการผลิต (Factor Prices) ระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดของการค้า (โดยมีสมมติฐานว่าเทคโนโลยีและรสนิยมเหมือนกัน) ตามทฤษฏีนี้ แต่ละประเทศจะส่งออกสินค้าเน้นไปที่ปัจจัยการผลิตที่มีมากโดยเปรียบเทียบซึ่งทำให้ปัจจัยการผลิตนั้นมีราคาถูก และนำเข้าสินค้าเน้นไปที่ปัจจัยการผลิตที่หายากโดยเปรียบเทียบซึ่งปัจจัยการผลิตดังกล่าวจะมีราคาแพง

ทฤษฎีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (The Product Life-Cycle Theory)
ทฤษฎีนี้ไม่คำนึงถึงความได้เปรียบในการผลิตสินค้าหรือปัจจัยการผลิต แต่เน้นไปที่ตัวผลิตภัณฑ์ ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าทฤษฎีนี้"ยังไม่ได้ผลิตสินค้าส่งออกไปจำหน่าย แต่ผลิตจำหน่ายภายในประเทศ และเมื่อผลผลิตล้นตลาด จึงส่งส่วนเกินนั้นออกไปจำหน่ายต่างประเทศ

ทฤษฎีความได้เปรียบในการแข่งขันระหว่างประเทศ (National Competitive Advantage)
ถูกสร้างขึ้นมาโดยไมเคิล อี. พอร์ตเตอร์ (Michael E. Porter) ภายใต้แนวคิดที่ว่า "ประเทศใดจะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ภายในประเทศจะต้องมีความได้เปรียบจากการแข่งขันก่อน" แต่ละประเทศจะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน จะต้องพิจารณาจากปัจจัย 4 ปัจจัย คือ
1. สถานะด้านปัจจัยการผลิต ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรบุคคล ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และทุน รวมถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่ส่งผลต่อการผลิตสินค้า ซึ่งปัจจัยตัวแรกนี้เป็นผลกระทบในด้านของทุน เราจะต้องพิจารณาตัวเราก่อนว่าปัจจัยการผลิตของเรามีความได้เปรียบอย่างไรบ้าง
2. สถานะด้านอุปสงค์ เมื่อผลิตและจำหน่ายภายในประเทศแล้ว ธุรกิจของเราสามารถครอง Market Share ได้ที่ 1 อุปสงค์ของผู้บริโภคภายในประเทศสูง ก็เป็นความได้เปรียบของธุรกิจและมีโอกาสในการออกไปแข่งขันในต่างประเทศได้
3. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและเกื้อหนุนกัน ธุรกิจจะต้องพิจารณาว่า supplier (ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ)นั้น หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา เช่น บริษัทขนส่ง มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันหรือไม่ เราอาจไม่จำเป็นต้องมี supplier อยู่แค่ภายในประเทศเท่านั้น แต่สามารถแสวงหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพและราคาถูกจากต่างประเทศก็ได้เช่นกัน
4. กลยุทธ โครงสร้างการแข่งขันของบริษัท กลยุทธ์และโครงสร้างที่ดีจะต้องสามารถปรับให้เหมาะกับสภาพปัจจุบันของธุรกิจได้ มีความยืดหยุ่นที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา


*** ตอบคำถาม ***
ด้วยความที่ไม่คำนึงถึงความได้เปรียบในการผลิตสินค้าหรือปัจจัยการผลิต แต่เน้นไปที่ตัวผลิตภัณฑ์ ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าทฤษฎีนี้ ยังไม่ได้ผลิตสินค้าส่งออกไปจำหน่าย แต่ผลิตจำหน่ายภายในประเทศ และเมื่อผลผลิตล้นตลาด จึงส่งส่วนเกินนั้นออกไปจำหน่ายต่างประเทศ มีอยู่ด้วยกัน 4 ขั้น ได้แก่

ขั้นที่ 1 ช่วงแนะนำเกิดอุปสงค์จากต่างประเทศ เริ่มผลิตเพื่อการส่งออก ,มีการใช้แรงงานที่มีความชำนาญสูง,มาตรฐานการผลิตสินค้าไม่ค่อยสูงนักและราคาค่อนข้างสูง เพื่อนำไปชดเชยต้นทุนค่าวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้ประเทศต้นแบบที่ผลิตสินค้าส่วนใหญ่ เป็นประเทศอุตสาหกรรม

ขั้นที่ 2 ช่วงเจริญเติบโตอุปสงค์รวมของสินค้าทั้งในและนอกประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว,เริ่มขยายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศ (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าไปจำหน่าย),เกิดสงครามราคาและการลอกเลียนแบบสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา

ขั้นที่ 3 ช่วงอิ่มตัวการนำสินค้าจากประเทศต้นแบบ(ผู้ผลิตรายแรก)เริ่มหมดไป ในตลาดมีแต่สินค้าเลียนแบบ ,เกิดการตัดราคาอันอย่างรุนแรง จนคู่แบ่งบางรายต้องเลิกล้มและออกจากการแข่งขันไป ,เริ่มมีการใช้เครื่องจักรมาตรฐานจากประเทศต้นแบบมาใช้ในการผลิตสินค้า,ไม่มีความจำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีฝีมือและค่าแรงสูง

ขั้นที่ 4 ช่วงลดลงสินค้าเริ่มล้าสมัยและตกรุ่น ประเทศต้นแบบยกเลิกการผลิต,ประเทศกำลังพัฒนาที่เลียนแบบสินค้าเกิดการแข่งขันและตัดราคากันเอง,ยอดขายในประเทศต้นแบบลดลง ,ประเทศต้นแบบเกิดการพัฒนานวัตกรรม (Innovation)ใหม่และแนะนำออกสู่ตลาดและผลิตเพื่อส่งออก


...........ข้อมูลจาก google.com , http://so-cute-me.blogspot.com/2009/07/ch2.html

7.03.2552

วัฒนธรรมกับการจัดการระหว่างประเทศ

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน

วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม

วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอด

การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอาจเกิดมาจากสิ่งแวดล้อม การค้นพบ (และอิทธิพลภายในอื่น ๆ) และการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอื่น ตัวอย่างเช่น ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุดช่วยนำไปสู่การค้นพบการทำเกษตรกรรม และตัวเกษตรกรรมเองก็เป็นตัวก่อให้เกิดนวัตกรรมมากมายทางเกษตรกรรม ซึ่งนวัตกรรมนี้ก็ได้นำไปสู่นวัตกรรมอื่น ๆ ทางวัฒนธรรม

แนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ไม่ว่าในทางยอมรับหรือต่อต้าน ย่อมขึ้นอยู่กับรากฐานของวัฒนธรรมในสังคมนั้น ตัวอย่างเช่น ความเป็นชายและหญิงที่ต่างมีบทบาทอยู่ในหลายวัฒนธรรม เพศใดเพศหนึ่งอาจต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งกระทบต่ออีกเพศหนึ่ง ดังเช่นที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมตะวันตกในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 2493 -2443) ซึ่งทำให้เกิดแรงผลักดันชักจูงทั้งสองทาง คือการกระตุ้นให้ยอมรับสิ่งใหม่ และการอนุรักษ์ที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนั้น
อิทธิพลทั้ง 3 ประการต่อไปนี้สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการต่อต้าน
1. แรงผลักดันในที่ทำงาน
2. การติดต่อกันระหว่างกลุ่มสังคม
3. การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ


องค์ประกอบของวัฒนธรรม คือ ภาษา (language), ศาสนา (religion), คุณค่าและทัศนคติ (attitude), ประเพณี (custom), การศึกษา (education), สถาบันทางสังคม (social institute), รสนิยมทางศิลปะ

Creolization หมายถึง การกลืนกินชาติอื่นด้วยวัฒนธรรม ประเทศอเมริกา เป็นประเทศแรกที่ใช้ระบบ Creolization สำเร็จเป็นประเทศแรก และญี่ปุ่นเป็นประเทศที่สอง

ภาษาที่นิยมพูดกันมากที่สุดในโลก 3 อันดับแรก คือ ภาษาจีนแมนดาริน ภาษาอังกฤษ ภาษาสเปน

.........ข้อมูลจาก th.wikipedia.org

6.28.2552

สภาพแวดล้อมในการบริหารธุรกิจฯ

สภาพแวดล้อมในการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ มีทั้งหมด 4 ชนิด เรียกสั้น ๆ ว่า PEST หรือ STEP ประกอบไปด้วย

P ย่อมาจาก Politics & Laws หมายถึง สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย
E ย่อมาจาก Economics หมายถึง สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
S ย่อมาจาก Social & Culture หมายถึง สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม
T ย่อมาจาก Techonology หมายถึง สถาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี

ทั้ง 4 ด้าน มีความสัมพันธ์กับการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศมาก เพราะถ้าหากสภาพแวดล้อมเกิดความเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลต่อระบบการบริหารธุรกิจฯขององค์กรได้ ดังนั้น PEST จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการบริหารธุรกิจฯ ถ้าสภาพแวดล้อมทั้ง 4 ด้านมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น ก็จะส่งผลดีทำให้ธุรกิจขององค์กรต่าง ๆ ดีขึ้นตามไปด้วย ...