7.17.2552

ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ

ทฤษฎีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ (The Absolute Advantage Theory) โดยมีเกณฑ์ภายใต้ข้อตกลงดังนี้
1. โลกมีอยู่ 2 ประเทศ
2. สินค้าบนโลกมี 2 ชนิด
3. มีปัจจัยเท่ากันในการผลิต
เป็นทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศยุคแรกๆ โดย Adam Smith ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อดัง The Wealth of Nations (1976) เป็นการสนับสนุนการค้าเสรีว่าเป็นนโยบายที่ดีเยี่ยมสำหรับทุกประเทศในโลก เมื่อการค้าเป็นไปอย่างเสรี แต่ละประเทศก็จะทำการผลิตด้วยความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษเฉพาะสินค้าที่ประเทศมีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ ( ถ้าประเทศนั้นสามารถผลิตสินค้าชนิดหนึ่งได้มากกว่าอีกประเทศหนึ่งด้วยปัจจัยการผลิตจำนวนที่เท่ากัน) และนำเข้าสินค้าที่มีความเสียเปรียบโดยสมบูรณ์ ดังนั้น การค้าระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้นจากการที่ต่างฝ่ายได้เปรียบโดยเด็ดขาดจากการผลิตสินค้าคนละชนิดแล้วมาแลกเปลี่ยนกัน

ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)
David Ricardo กล่าวว่าประเทศที่ไม่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในการผลิตสินค้าทุกๆอย่างกับประเทศอื่น ยังคงสามารถทำการค้าที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายได้ ประเทศที่ด้อยประสิทธิภาพควรผลิตและส่งออกเฉพาะสินค้าที่ประเทศตนมีความเสียเปรียบโดยสมบูรณ์น้อยกว่า ถือได้ว่าสินค้านี้เป็นสินค้าที่ประเทศผลิตด้วยความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และใช้อธิบายสาเหตุของธุรกิจการค้าระหว่างประเทศจนทุกวันนี้

ทฤษฎีเฮกเชอร์-ออแลง (Heckscher-Ohlin Theory)
ทฤษฎี Heckscher-Ohlin (H-O) เน้นในเรื่องความแตกต่างกันของปัจจัยการผลิตเริ่มต้น (Factor Endownments) ที่แต่ละประเทศมีอยู่ และราคาปัจจัยการผลิต (Factor Prices) ระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดของการค้า (โดยมีสมมติฐานว่าเทคโนโลยีและรสนิยมเหมือนกัน) ตามทฤษฏีนี้ แต่ละประเทศจะส่งออกสินค้าเน้นไปที่ปัจจัยการผลิตที่มีมากโดยเปรียบเทียบซึ่งทำให้ปัจจัยการผลิตนั้นมีราคาถูก และนำเข้าสินค้าเน้นไปที่ปัจจัยการผลิตที่หายากโดยเปรียบเทียบซึ่งปัจจัยการผลิตดังกล่าวจะมีราคาแพง

ทฤษฎีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (The Product Life-Cycle Theory)
ทฤษฎีนี้ไม่คำนึงถึงความได้เปรียบในการผลิตสินค้าหรือปัจจัยการผลิต แต่เน้นไปที่ตัวผลิตภัณฑ์ ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าทฤษฎีนี้"ยังไม่ได้ผลิตสินค้าส่งออกไปจำหน่าย แต่ผลิตจำหน่ายภายในประเทศ และเมื่อผลผลิตล้นตลาด จึงส่งส่วนเกินนั้นออกไปจำหน่ายต่างประเทศ

ทฤษฎีความได้เปรียบในการแข่งขันระหว่างประเทศ (National Competitive Advantage)
ถูกสร้างขึ้นมาโดยไมเคิล อี. พอร์ตเตอร์ (Michael E. Porter) ภายใต้แนวคิดที่ว่า "ประเทศใดจะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ภายในประเทศจะต้องมีความได้เปรียบจากการแข่งขันก่อน" แต่ละประเทศจะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน จะต้องพิจารณาจากปัจจัย 4 ปัจจัย คือ
1. สถานะด้านปัจจัยการผลิต ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรบุคคล ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และทุน รวมถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่ส่งผลต่อการผลิตสินค้า ซึ่งปัจจัยตัวแรกนี้เป็นผลกระทบในด้านของทุน เราจะต้องพิจารณาตัวเราก่อนว่าปัจจัยการผลิตของเรามีความได้เปรียบอย่างไรบ้าง
2. สถานะด้านอุปสงค์ เมื่อผลิตและจำหน่ายภายในประเทศแล้ว ธุรกิจของเราสามารถครอง Market Share ได้ที่ 1 อุปสงค์ของผู้บริโภคภายในประเทศสูง ก็เป็นความได้เปรียบของธุรกิจและมีโอกาสในการออกไปแข่งขันในต่างประเทศได้
3. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและเกื้อหนุนกัน ธุรกิจจะต้องพิจารณาว่า supplier (ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ)นั้น หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา เช่น บริษัทขนส่ง มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันหรือไม่ เราอาจไม่จำเป็นต้องมี supplier อยู่แค่ภายในประเทศเท่านั้น แต่สามารถแสวงหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพและราคาถูกจากต่างประเทศก็ได้เช่นกัน
4. กลยุทธ โครงสร้างการแข่งขันของบริษัท กลยุทธ์และโครงสร้างที่ดีจะต้องสามารถปรับให้เหมาะกับสภาพปัจจุบันของธุรกิจได้ มีความยืดหยุ่นที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา


*** ตอบคำถาม ***
ด้วยความที่ไม่คำนึงถึงความได้เปรียบในการผลิตสินค้าหรือปัจจัยการผลิต แต่เน้นไปที่ตัวผลิตภัณฑ์ ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าทฤษฎีนี้ ยังไม่ได้ผลิตสินค้าส่งออกไปจำหน่าย แต่ผลิตจำหน่ายภายในประเทศ และเมื่อผลผลิตล้นตลาด จึงส่งส่วนเกินนั้นออกไปจำหน่ายต่างประเทศ มีอยู่ด้วยกัน 4 ขั้น ได้แก่

ขั้นที่ 1 ช่วงแนะนำเกิดอุปสงค์จากต่างประเทศ เริ่มผลิตเพื่อการส่งออก ,มีการใช้แรงงานที่มีความชำนาญสูง,มาตรฐานการผลิตสินค้าไม่ค่อยสูงนักและราคาค่อนข้างสูง เพื่อนำไปชดเชยต้นทุนค่าวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้ประเทศต้นแบบที่ผลิตสินค้าส่วนใหญ่ เป็นประเทศอุตสาหกรรม

ขั้นที่ 2 ช่วงเจริญเติบโตอุปสงค์รวมของสินค้าทั้งในและนอกประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว,เริ่มขยายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศ (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าไปจำหน่าย),เกิดสงครามราคาและการลอกเลียนแบบสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา

ขั้นที่ 3 ช่วงอิ่มตัวการนำสินค้าจากประเทศต้นแบบ(ผู้ผลิตรายแรก)เริ่มหมดไป ในตลาดมีแต่สินค้าเลียนแบบ ,เกิดการตัดราคาอันอย่างรุนแรง จนคู่แบ่งบางรายต้องเลิกล้มและออกจากการแข่งขันไป ,เริ่มมีการใช้เครื่องจักรมาตรฐานจากประเทศต้นแบบมาใช้ในการผลิตสินค้า,ไม่มีความจำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีฝีมือและค่าแรงสูง

ขั้นที่ 4 ช่วงลดลงสินค้าเริ่มล้าสมัยและตกรุ่น ประเทศต้นแบบยกเลิกการผลิต,ประเทศกำลังพัฒนาที่เลียนแบบสินค้าเกิดการแข่งขันและตัดราคากันเอง,ยอดขายในประเทศต้นแบบลดลง ,ประเทศต้นแบบเกิดการพัฒนานวัตกรรม (Innovation)ใหม่และแนะนำออกสู่ตลาดและผลิตเพื่อส่งออก


...........ข้อมูลจาก google.com , http://so-cute-me.blogspot.com/2009/07/ch2.html

1 ความคิดเห็น: